28 ธ.ค. 2020

เคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจคือการเพิ่มแรงจูงใจ!-ตอน3

การเพิ่มแรงจูงใจภายใน: ส่วนที่ ① ให้พนักงานได้ “ผลตอบรับจากงาน”

ครั้งที่แล้ว ผมพูดถึงความสำคัญของการสร้างแรงจูงใจในการทำงานโดยมีพื้นฐานจากแรงจูงใจที่มาจากภายในซึ่งจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทในระยะยาว ในบทความนี้เราจะมาพิจารณาสิ่งที่ส่งเสริมแรงจูงใจภายใน

สิ่งสำคัญ 2 ประการที่ส่งเสริมแรงจูงใจภายในคือ

1. ทำให้พนักงานได้รับ “ผลตอบรับจากงาน”
2. ความตระหนักในเรื่อง “ความสัมพันธ์กับคนอื่น”

ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละอย่างคือ 1) “ผลตอบรับจากงาน” คือความรู้สึกภายในที่เกิดขึ้นจากการทำงานนั้น ๆ เช่น อิสระในการทำงาน และความมั่นใจในความสามารถของตนเอง ประการที่ 2) “ความสัมพันธ์กับคนอื่น” คือความรู้สึกภายในซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อคนอื่น ๆ โดยเฉพาะกับคนที่ทำงานด้วย ดังนั้น นี่รวมถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อบริษัท (คณะผู้บริหาร) และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในบริษัท

ก่อนอื่น เราลองคิดดูว่าจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้พนักงานรู้สึกได้รับ “ผลตอบรับจากงาน”

เรารู้สึกถึง “ผลตอบรับจากงาน” ได้อย่างไร? โปรดดูกรอบทางซ้ายในภาพด้านล่าง ในแบบสำรวของเราพูดถึงตัวบ่งชี้ 8 ประการที่เกี่ยวข้องกับ “ผลตอบรับจากงาน” ซึ่งได้มาจากการนำคำตอบของคำถาม 18 ข้อมาคำนวณทางสถิติ

*คำถามหลักของแบบสำรวจแรงจูงใจในการทำงานมีจำนวน 87 ข้อ

การดำเนินการปรับปรุง

สิ่งสำคัญประการแรกที่จะต้องทราบคือ พนักงานมี “ผลตอบรับจากงาน” มากน้อยเท่าใด โดยดูจากตัวบ่งชี้ 8 ประการ เราออกแบบกิจกรรมปรับปรุงไม่ได้หากไม่ทราบข้อมูลที่ถูกต้องก่อน นอกจากนั้น การเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์จะทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับดีหรือควรปรับปรุง ถ้าเราเข้าใจเรื่องเหล่านี้แล้วจะทำให้การดำเนินการปรับปรุงในขั้นต่อไปเป็นเรื่องง่ายขึ้น การทำตามขั้นตอนนี้ต่อ ๆ ไปจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ผลของงานจะดีขึ้น พนักงานจะรู้สึก “คุ้มค่าที่ได้ทำงาน” และแรงจูงใจในการทำงานจะสูงขึ้น การบริหารงานของคุณจะดีขึ้นและเกิดทีมเวิร์คที่ดี แน่นอนว่าความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับ “ผลตอบรับจากงาน” ของพนักงานก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย เหมือนกับยิงปืนนัดเดียวได้นกสามหรือสี่ตัวเลยทีเดียว

สรุปคือ : ตรวจเช็ค + แก้ไขทันที ► เติบโต

แน่นอนว่า เป้าหมายสำคัญคือการทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสดีที่จะช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกตอบรับจากงานด้วย

ถ้าเป็นไปได้ เราควรออกแบบการฝึกอบรมให้เป็นธรรมชาติเพื่อให้พนักงานไม่รู้สึกว่ากำลังถูกสอนหรือถูกบังคับ การทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจภายในและแรงกระตุ้นในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ครั้งต่อไป ผมขอพูดถึง “อิสระในการทำงาน” ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งของผลตอบรับจากงาน

*1

เราวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ทั้ง 8 รายการโดย การวิเคราะห์เชิงสัมพัทธ์, การวิเคราะห์เชิงคุณลักษณะ และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ นอกจากนี้เราให้คำแนะนำด้วยว่าควรเริ่มปรับปรุงอะไรก่อน!

คุณอยากได้ยินเสียงที่แท้จริงของพนักงานไหม?

เราให้บริการ “สำรวจแรงจูงใจในการทำงาน” การสำรวจนี้ถูกออกแบบให้แสดงภาพแรงจูงใจของพนักงานให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งจะทำให้คุณเห็นชัดเจนว่าพนักงานรู้สึกอย่างไรและช่วยพัฒนาการบริหารจัดการได้

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ…

เคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจคือการเพิ่มแรงจูงใจ!

เคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจคือการเพิ่มแรงจูงใจ!

การปรับปรุงแรงจูงใจในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจ ทุกวันนี้มีข้อมูลมากจริง ๆ...

0 ความคิดเห็น