ผมมักจะถามคนอื่นว่า “คุณทำงานอะไร”
เพราะผมรู้สึกว่าการถามแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นการสนทนาและทำให้รู้จักคนอื่นดีขึ้น
ที่ญี่ปุ่น ผู้คนมักจะตอบแบบขอไปทีว่า “ผมเป็นมนุษย์เงินเดือน” หรือ “ผมเป็นข้าราชการ” แต่ในประเทศไทยผมมักจะได้ยินคำตอบที่ลงลึกไปมากกว่านั้น กลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่
พบกับช่างฝีมือคนหนึ่ง
“ทำงานอะไรครับ?”
“ฉันเย็บผ้าค่ะ” เธอตอบ
“ผ้านี่ใช้ทำอะไรครับ?” ผมถามต่อ
ที่ถามแบบนี้เพราะผมมีเพื่อนคนไทยที่ทำงานเย็บผ้าด้วย บางคนเย็บชุดสูท บางคนเย็บกระเป๋า บางคนเย็บผ้าคลุมเบาะรถ ผมจึงอยากรู้ว่าผู้หญิงคนนี้เย็บผ้าแบบไหน
“เสื้อผ้าค่ะ”
ในประเทศไทยมีธุรกิจประเภทนี้เยอะมาก ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าแค่มีจักรเย็บผ้าหลังเดียวก็เย็บอะไรทุกอย่างได้หมด ในบางแห่งเราจะได้ยินแต่เสียงจักรเย็บผ้ากำลังทำงานดังอื้ออึงไปหมดในระแวกนั้น
ผมนึกได้ว่ามีกางเกงของชุดสูทที่อยากจะตัดขากางเกงออกสัก 2 ซม. ผมจึงเอาไปให้เธอทำในวันต่อมา แต่…
ไม่กี่นาทีก็เสร็จแล้ว
“เท่าไรครับ?” ผมเตรียมจะจ่ายเงิน
“20 บาทค่ะ”
อะไรนะ? 20 บาท (ประมาณ 65 เยน) ถูกเกินไปไหม?
ที่ญี่ปุ่น งานซ่อมแบบนี้จะต้องจ่ายประมาณ 1,000 เยน (ประมาณ 290 บาท)
ผมให้แบงก์ 50 และบอกว่า
“ไม่ต้องทอนครับ”
แต่เขาก็ยังทอนมาให้ 30 บาท
ค่าเย็บแค่ 20 บาท ผมคิดว่ารอยเย็บคงไม่ทนเท่าไร เมื่อกลับถึงบ้านผมเลยตรวจดู ปรากฏว่ารอยเย็บเรียบร้อยและแน่นหนาดีมาก…
ในเอเชีย ฐานะทางสังคมและค่าแรงของคนที่ทำงานเย็บผ้าส่วนใหญ่ไม่สูงเท่าไรนัก
“วัน ๆ หนึ่งรายได้ดีไหมครับ?”
เธอตอบว่า “250 บาท” (ประมาณ 800 เยน)
ผมได้ยินว่าช่างเย็บผ้าที่นี่จะต้องทำงานวันละ 8-10 ชั่วโมง เพื่อเย็บชุดนักเรียนแบบโหล ตอนนั้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยคือ 300 บาท/วัน แสดงว่าค่าแรงของเธอต่ำกว่ามาตรฐานเสียอีก บริษัทที่เธอทำงานด้วยกำลังทำผิดกฎหมายไม่ใช่หรือ? อย่างไรก็ตาม งานที่ทำ 5 นาทีแล้วได้ 20 บาทก็ดูจะเป็นงานที่รายได้ดี…
ผมถามต่อ
“คุณชอบงานที่ทำอยู่ตอนนี้ไหม?”
เธอตอบว่า
“ชอบสิ ฉันอยากให้ลูกค้ามีความสุขเมื่อรับงานไปแล้ว”
สุดยอด ช่างคนนี้ภูมิใจกับงานของตนเอง
ตั้งแต่นั้นผมก็เริ่มสั่งตัดเสื้อผ้ากับเขา ฝีมือของเขาค่อนข้างดีทีเดียวเพราะเมื่อผมนำเสื้อผ้าแบบญี่ปุ่นเอาไปให้เขาดูเพื่อเลียนแบบ เขาสามารถทำออกมาได้เหมือนทั้งรูปทรงและรายละเอียดต่าง ๆ จากนั้นเพื่อน ๆ ชาวญี่ปุ่นก็เห็นฝีมือและเริ่มสั่งตัดเสื้อผ้ากับผม อย่างไรก็ตาม เมื่อมองเฉพาะในเรื่องของเทคนิคการเย็บ ผมรู้สึกว่าคงต้องบอกเขาบ้างว่าคนญี่ปุ่นชอบแบบไหน ซึ่งคนญี่ปุ่นอาจเป็นชนชาติที่จำแนกเรื่องนี้ได้เก่งที่สุดในโลก (ผมไม่ได้หมายความว่าคนญี่ปุ่นตัดเย็บเก่ง แต่ผมหมายถึงลักษณะการตัดเย็บแบบที่คนญี่ปุ่นชอบและคุ้นเคยเนื่องจากแต่ละประเทศก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกัน)
อย่างไรก็ตาม ผมแปลกใจเพราะช่างคนนี้อยากรู้เทคนิคการเย็บแบบญี่ปุ่น เธอเป็นคนที่มีแรงบันดาลใจและเป็นคนถ่อมตัว
เขามีฝีมือและต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของตัวเอง ผมจึงตัดสินใจสอนสิ่งที่ผมรู้กับเขา
เวลาผ่านมาไม่กี่ปี ตอนนี้ช่างตัดเย็บคนนั้นกลายมาเป็นสมาชิกคนสำคัญในธุรกิจ OEM ของเรา ค่าแรงขั้นต่ำที่เธอได้รับจาก OEM มากกว่าสิ่งที่เธอเคยได้รับเมื่อก่อนประมาณ 3-4 เท่า
ทั้งหมดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ One team project เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแรงงานฝีมือของไทยอีกหลายคนจะได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในโปรเจ็คนี้ของเรา
คุณอยากเข้าร่วมโครงการ One team project กับเราไหม?
ในประเทศไทย มีแรงงานที่มีฝีมือในสาขาต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ได้ใช้ความสามารถที่มีอย่างเต็มที่ เราจะค้นหาบุคลากรหรือกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่มีฝีมือเหล่านี้และจับคู่กับนักออกแบบหรือนักลงทุนจากญี่ปุ่น ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจ โปรดติดต่อเราได้จากช่องทางต่าง ๆ ในเว็บไซต์
0 ความคิดเห็น